แฮนด์บอล(Handball)
แฮนด์บอล เป็นกีฬาที่หลายคนรู้จักดี เพราะมักถูกนำมาใเป็นหนึ่งในประเภทกีฬา ในการแข่งขันกีฬาสีประจำโรงเรียนรวมทั้งถูกบรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติหลายรายการ
ประวัติกีฬาแฮนด์บอล
กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนีโดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนด กติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลักซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทนเดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้ เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำ ไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้า เป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำ ไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้า เป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก
ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย
หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด
กติกาแฮนด์บอล (แบบย่อ)
สนามแข่งขัน
สนามแข่งขัน
ขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 40 เมตร กว้าง 20 เมตร มีเส้นรอบสนามและเขตประตู โดยประตูจะต้องมีขนาดสูง 2 เมตร กว้าง 3 เมตร ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่ง มีพื้นที่รอบสนามห่างจากเส้นขอบสนามอย่างน้อย 1 เมตร ห่างจากหลังประตู 2เมตร
ลูกบอล
ต้องทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์รูปทรงกลม ผิวไม่สะท้อนแสงและไม่ลื่น สำหรับผู้ชายลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 58-60 เซนติเมตร หนักประมาณ 425-475 กรัม สำหรับผู้หญิงลูกบอลต้องมี
ขนาดเส้นรอบวง 54-56 เซนติเมตร หนักประมาณ 325-400 กรัม และต้องมีลูกบอลสำหรับการแข่งขัน 2 ลูก เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้นแล้วจะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้
ผู้เล่น
ทีมหนึ่งต้องส่งตัวผู้เล่น 12 คน (รวมผู้เล่นสำรอง) และลงสนามได้ 7 คน คือ ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน โดยสามารถเปลี่ยนตัวเข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนตัวกลับเข้าในสนามใหม่ได้ โดยผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อทีมที่ติดหมายเลข 1-20 ไว้ที่เสื้อ โดยมีขนาดตัวเลข สูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร กว้างอย่างน้อย 10 เซนติเมตร สีของตัวเลขตัดกับเสื้ออย่างชัดเจน สวมใส่รองเท้ากีฬา และห้ามใส่เครื่องประดับทุกชนิด
ใช้มือจับ ขว้าง โยน ลูกบอล ส่งต่อกันกับผู้เล่นในทีมตนเองเพื่อขว้างบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
-ห้ามใช้ร่างกายส่วนที่ต่ำกว่าหัวเข่าลงไปโดนลูกบอล
- ผู้เล่นสามารถถือลูกบอลไว้ในมือได้ไม่เกิน 3 วินาที
- ขณะถือลูกบอลสามารถก้าวขาได้ไม่เกิน 3 ก้าว
- ห้ามผู้เล่นดึงลูกบอลจากมือของฝ่ายตรงข้าม
- ห้ามเข้าไปในเขตประตูของฝ่ายตรงข้ามใช้เวลาในการแข่งขัน
ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที หากมีการต่อเวลาพิเศษจะเพิ่ม 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที
การคิดคะแนน
หากสามารถขว้างบอลเข้าประตูฝั่งตรงข้ามได้จะคิดเป็น 1 คะแนนต่อ 1 ครั้ง หากมีการทำเข้าประตูตนเองก็จะเสียคะแนนให้กับฝ่ายตรงข้าม เมื่อหมดเวลาใครทำประตูได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ
หากสามารถขว้างบอลเข้าประตูฝั่งตรงข้ามได้จะคิดเป็น 1 คะแนนต่อ 1 ครั้ง หากมีการทำเข้าประตูตนเองก็จะเสียคะแนนให้กับฝ่ายตรงข้าม เมื่อหมดเวลาใครทำประตูได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ
เเบบฝึกของการเล่นกีฬาเเฮนด์บอล
(เรียกว่าการอบอุ่นร่างกายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการวอร์มอัพนั้นเอง)
ทักษะในการเล่นที่สำคัญได้เเก่
การทรงตัว : ท่าการทรงเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติของเท้าเเละส่วนอื่นๆ เเนวทางในการฝึกหัดมีดังนี้
ท่าของการทรงตัว
1. ยืนเเล้วก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย งอเข่า ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า
2. เหยียดเเขนไปข้างหน้า งอศอกตามธรรมชาติ เเบมือเเละกางนิ้วออก โดยไม่ต้องเกร็ง
3. เท้าทั้งสองยืนห่างกันประมาณช่วงไหล่ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา
การทรงตัวขณะเคลื่อนที่
1. เลื่อนเท้าไปข้างหน้า เเล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งตามมาชิดในท่าของการยืนทรงตัวเมื่อต้องการเคลื่อนที่
2. ถ้าต้องการเคลื่อนที่ไปข้างๆให้ใช้เท้าที่ถนัดสืบเท้านำไปข้างๆแลวลากเท้าที่เหลือมาชิด
การทรงตัวเมื่อต้องการหยุด
1. การหยุดเเบบเท้าอยู่ข้างหน้าโดยการใช้เท้าใดเท้าหนึ่งก้าวนำ งอเข่า ลำตัวเอนมาด้านหลังเล็กน้อย
2. ย่อตัวต่ำลง ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่เป้าหมาย กางแขนเท้าหลังยึดเเน่นกับพื้น
3. การหยุดเเบบเท้าคู่ (นิยมใช้ในทีมรับ) กระโดดเเล้วลงสองเท้าพร้อมกัน ให้เท้าห่างกันพอสมควร
การครอบครองลูก : การถือบอลสามารถจับหรือถือได้ทั้งมือเดียวหรือสองมือ สามารถเปลี่ยนมือไปมา ได้ เเต่ต้องไม่เกิน 3 วินาที เเละสามารถถือลูกบอลพร้อมทั้งก้าวได้ 3 ก้าว
การรับส่งลูก : เเบมือทั้งสองออกทุกนิ้วกางนิ้วเเยกออกจากกันให้หงายฝ่ามือขึ้นเมื่อต้องการรับลูกที่มาต่ำ อีกกรณีทำได้โดยการคว่ำฝ่ามือหันหลังมือเข้าหาลำตัว นิ้วมือทั้งสองเกือบจรดกัน นิ้วห่างกันเล็กน้อย (คล้ายรูปชาม) เมื่อบอลกระทบมือใช้นิ้วต่างๆรวมจับลูกอย่าให้ลูกกระทบอุ้งมือพร้อมทั้งดึงลูกเข้าหาลำตัว
1. ขณะรับส่งลูกสายตาจ้องมาลูกบอลเสมอ ไม่ควรมองดูตัวผู้เล่น
2. ตำเเหน่งการทรงตัวจะต้องมั่นคง พร้อมที่จะส่งบอลในทุกทิศทาง
3. อย่ายืนรอรับบอลเฉยๆ ควรวิ่งเข้าหาบอล ถ้าบอลมาสูงก็กระโดดรับ ถ้ามาต่ำก็ก้มรับ เมื่อได้บอลเเล้วรีบดึงบอลเข้าหาลำตัว
การฝึกรับส่งบอลอาจทำการฝึกในหลายๆรูปเเบบ เพื่อเพิ่มทักษะการรับเเละการส่ง ได้เเก่
1. การรับบอลในอากาศด้านหน้า
2. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัวทางเเขนด้านที่ถนัด
3. การรับลูกที่ส่งมไม่ตรงตัวทางเเขนด้านที่ไม่ถนัด
4. การรับลูกที่กลิ้งมาตามพื้น
การส่งลูก : เป้าหมายในการส่งคือระดับอกของผู้รับ ความเร็วต้องมีการกะระยะทางระหว่างผู้ส่งเเละผู้รับเพื่อที่จะได้ส่งลูกออกไปตามเเรงที่เหมาะสม การส่งลูกถ้าผู้ส่งถนัดขวาก็ต้องให้เท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวาในขณะส่ง โน้มตัวไปข้างหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าเพื่อเสริมเเรงทำให้ลูกวิ่งได้เร็วเเละเเรงขึ้น การส่งลูกบอลอาจทำได้ในหลายๆรูปเเบบ เพื่อหลอกล่อคู่ต่อสู้ เเละการส่งอาจทำได้ทั้งการยืนส่งลูก หรือการกระโดดส่งลูก ดังนี้
การยืนส่งลูกมือเดียว ซึ่งได้เเก่ ส่งลูกมือเดียวเหนือหัวไหล่ การส่งไปด้านหน้าด้วยมือที่ถนัดเเละไม่ถนัดเหนือหัวไหล่ ส่งลูกมือเดียวระดับล่าง ส่งบอลระดับกลางด้านข้าง การพลิกมือส่ง (ลูกบอลต้องอยู่ในระดับข้อมือ เเละบอลอยู่ชิดลำตัว) การส่งลูกมือเดียวอ้อมหลัง ส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ ส่งลูกเเบบผลัก ส่งลูกเเบบตวัด ฯลฯ
การยืนส่งลูกสองมือ ซึ่งได้เเก่ ส่งลูกระดับอก ส่งลูกเหนือศีรษะ ส่งลูกสองมือด้านหน้า ฯลฯ
การกระโดดส่งลูกมือเดียว ซึ่งได้เเก่ กระโดดส่งลูกมือเดียวตรงหน้า กระโดดส่งด้านข้างมือเดียว กระโดดส่งลูกด้วยสองมือ กระโดดส่งลูกกลับด้านหลัง กระโดดสองเท้าส่งลูกสองมือ
ข้อเเนะนำในการรับ – ส่งลูกบอล
1. ไม่ควรเเสดงว่าจะส่งลูกไปทางไหน
2. การส่งลูกอย่าส่งเเรงหรือเร็วเกินไป เป้าหมายการส่งลูกโดยที่ผู้รับเคลื่อนที่ประมาณข้างหน้าของผู้รับระยะ 1 ช่วงเเขน ไม่ส่งย้อยหลัง สูงหรือต่ำเกินไป
3. ไม่ควรส่งกระดอนหรือลูกพลิกเเพลงบ่อย ในขณะที่ไม่มีความชำนาญ
4. อย่าส่งลูกขณะที่ผู้รับยังหันหลังอยู่ เเละไม่ควรส่งลูกข้ามคน (อาจถูกตัดเเย่งเอาลูกบอลไปได้)
การเลี้ยงลูก : ขณะยืนหรือเคลื่อนที่พยายามบังคับลูกบอลให้กระทบพื้น ผู้เล่นจะก้าวกี่ก้าวก็ได้ในขณะที่เลี้ยงลูกบอล สามารถทำได้โดยการปัดลูกบอลไปบนพื้นสนาม ให้ผู้ฝึกกางนิ้วมือที่จะใช้เลี้ยงลูกออกทุกนิ้วเวลาผลักลูกบอลลงสู่พื้นนั้นใช้เฉพาะนิ้วทั้งห้าเท่านั้น ห้ามใช้ฝ่ามือผลักลูกเด็ดขาด ตำแหน่งของร่างกายขณะเลี้ยงลูกบอล ให้ก้มตัวไปข้างหน้าย่อเข่า แขนข้างหนึ่งกางออกเพื่อการทรงตัว เท้าอยู่ในลักษณะมีเท้านำและเท้าตาม ลำตัวเอียงโน้มไปข้างหน้า หรือด้านข้างเพื่อช่วยในการหลบหลีกและทำการป้องกันจากคู่ต่อสู้ เมื่อต้องการหยุดกดลูกให้ต่ำลงหรือจับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือก็ได้
การเลี้ยงลูกบอลมีหลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับโอกาสและความชำนาญของผู้ฝึก ในที่นี้จะขอกล่าวแต่ถึงรูปแบบการเลี้ยงที่มีการใช้บ่อย ได้แก่
การเลี้ยงลูกต่ำ – จุดมุ่งหมายเพื่อหลบหลีกคู่ต่อสู้
การเลี้ยงลูกสูง - จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกบอลไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
การหมุนตัว : การหมุนตัวเป็นทักษะที่ต้องการการฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆได้ดังนี้
1. การหมุนตัวอยู่กับที่: หมุนตัวโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นหลัก หมุนไปตามทิศที่ต้องการ โดยที่เท้าที่ใช้เป็นหลักจะต้องยึดมั่นอยู่กับที่ เขย่งส้นเท้าขั้นให้ปลายเท้าติดอยู่กับพื้น ขณะที่หมุนตัวต้องก้มลำตัวและงอเข่าให้มากที่สุด ใช้สายตากะระยะคู่ต่อสู้ ในการครองลูก ให้ถือลูกให้มั่นด้วยมือทั้งสองข้าง ลูกบอลแนบชิดกับหน้าท้อง กางข้อศอกเพื่อป้องกันคู่ต่อสู้แย่งลูกบอล
2. การหลอกหมุนตัวกลับ: เป็นพื้นฐานนำไปสู่การยิงประตู จุดมุ่งหมายหลักคือ การหลอกล่อ หนีฝ่ายป้องกัน สามารถทำได้โดยวิ่งตัดผ่านพื้นที่เหนือเส้นเขตประตูเพื่อรับลูกบอลโดยไม่ให้ฝ่ายป้องกันรู้ตัว ในการหยุดเท้าต้องขนานกัน ช่วงเท้าทั้งสองห่างกว่าปกติเล็กน้อยย่อเข่าให้สะโพกต่ำ เวลาเหมุนตัวกลับต้องทำให้เร็วน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหลักในการหมุน (อาจทำได้ทั้ง ซ้าย – ขวา)
การยิงประตู : การเข้าทำประตูฝ่ายตรงข้ามมีวิธีการและทักษะแตกต่างกัน ทั้งนี้การเลือกนำไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และการตัดสินใจของผู้เล่น จึงแยกออกได้ดังนี้คือ
1. ยืนยิงประตู
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวเหนือไหล่
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวระดับไหล่
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่แบบเหวี่ยง
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวระดับต่ำ
- การยืนยิงประตูด้วยสองมือ
- การยืนยิงประตูแบบกลับหลัง
2. การกระโดดยิงประตู
- การกระโดดยิงประตูแนวดิ่งด้วยเท้าคู่
- การกระโดดยิงประตูแนวดิ่งด้วยเท้าเดียว
- การวิ่งกระโดดยิงประตู
- การพุ่งตัวตรงหน้ายิงประตู
- การล้มตัวยิงประตูทางด้านหน้า
- การพลิกตัวยิงประตู
- การหมุนตัวประตูแบบขว้างจักร
ข้อแนะนำในการยิงประตู
1. ผู้ยิงประตูที่ดี ต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอและควรมีทักษะในการยิงประตูมากกว่า 1 ท่าขึ้นไป
2. ต้องมีการหลอกล่อ และคอยหาโอกาส
3. ต้องยิงประได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
4. ไม่ควรยิงในทิศทางเดียวกันเสมออาจทำให้ถูกจับทิศทาง
5. ระดับของการยิงประตูให้พิจารณาดังนี้
5.1) รูปร่าง ส่วนสูง ของผู้รักษาประตู
ก. คนเตี้ยให้ยิงระดับสูง
ข. คนสูงให้ยิงระดับต่ำ
ค. หากรูปร่างเก้งก้างลำตัวยาวให้ยิงประตูระดับกลางของประตู
5.2) ตำแหน่งการยิงของผู้รักษาประตู
ก. ให้ยิงประตูไปยังด้านที่เปิด (มุมไกล) ด้านกว้าง
ข. ศึกษาจุดอ่อนของผู้รักษาประตูว่าถนัดและไม่ถนัด
5.3) ทักษะบางอย่างของผู้รักษาประตู
ก. ถ้าผู้รักษาประตูชอบพุ่งตัวรับ ให้ยิงลูกต่ำ
ข. ถ้าผู้รักษาประตูใช้เท้าได้ดี แต่ใช้มือไม่ดี การยิงให้ยิงลูกกระดอนพื้น
การฝึกในแบบทีม
ในการเล่นประเภททีมจะต้องทำการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ผู้เล่นฝ่ายรุก (ฝ่ายที่ได้ครอบครองลูก) และผู้เล่นฝ่ายรับ
ผุ้เล่นฝ่ายรุกประกอบด้วย
1. ตำแหน่งหลัง (Backs) ในการเล่นแฮนด์บอลถือว่าผู้เล่นกองหลังเป็นหัวใจและมันสมองของทีม ผู้เล่นในตำแหน่งนี้จะต้องมีรูปร่างแข็งแรง มีประสบการณ์และความชำนาญที่ดี สามารถสั่งการและบัญชาการเกมได้
2. ตำแหน่งปีก (Wingers) จะต้องมีความเร็วคล่องตัวมีสมรรถภาพทางกายดี สามารถยิงประตูได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะการยิงประตูทางมุมแคบจากทางด้านข้าง
3. ตำแหน่งหน้า (Forward or line players) ต้องมีการสร้างสรรค์เกมรุกด้านหน้า ต้องมีรูปร่างแข็งแรงบึกบึนและมีความคล่องตัวสูง
การป้องกันในการเล่นแฮนด์บอลมีจุดมุ่งหมายคือป้องกันการทำประ๕จากฝ่ายที่ได้ครอบครองลูก ทักษะป้องกันพื้นฐานที่สำคัญมี 3 ประการ คือ
1. การป้องกันแบบตัวต่อตัว
2. การป้องกันแบบทีม
3. การป้องกันตามสถานการณ์ต่างๆ
เทคนิคการเข้าทำประตูในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล
บรรยากาศการฝึกซ้อม
d672o8dveaw415 male sex dolls,horse dildos,sex doll,penis rings,wholesale sex toys,vibrators,horse dildo,vibrators,male sex dolls f816o8qupkn753
ReplyDelete