Wednesday, February 6, 2013



 

         แฮนด์บอล(Handball)

  แฮนด์บอล เป็นกีฬาที่หลายคนรู้จักดี เพราะมักถูกนำมาใเป็นหนึ่งในประเภทกีฬา ในการแข่งขันกีฬาสีประจำโรงเรียนรวมทั้งถูกบรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติหลายรายการ 

  ประวัติกีฬาแฮนด์บอล
          กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนีโดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนด  กติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลักซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทนเดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้ เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา
    

ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำ ไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้า เป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี     พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ จนความนิยมลดลง
          ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก







ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย

หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน  จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก

          จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด










  

กติกาแฮนด์บอล (แบบย่อ)

          

สนามแข่งขัน

  ขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 40 เมตร กว้าง 20 เมตร มีเส้นรอบสนามและเขตประตู โดยประตูจะต้องมีขนาดสูง เมตร กว้าง เมตร ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่ง มีพื้นที่รอบสนามห่างจากเส้นขอบสนามอย่างน้อย          เมตร ห่างจากหลังประตู 2เมตร     










ลูกบอล

       
 ต้องทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์รูปทรงกลม ผิวไม่สะท้อนแสงและไม่ลื่น สำหรับผู้ชายลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 58-60 เซนติเมตร หนักประมาณ 425-475 กรัม สำหรับผู้หญิงลูกบอลต้องมี   
 ขนาดเส้นรอบวง 54-56 เซนติเมตร หนักประมาณ 325-400  กรัม และต้องมีลูกบอลสำหรับการแข่งขัน ลูก เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้นแล้วจะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้









         
ผู้เล่น


     ทีมหนึ่งต้องส่งตัวผู้เล่น 12 คน (รวมผู้เล่นสำรอง) และลงสนามได้ คน คือ ผู้เล่น คน ผู้รักษาประตู คน โดยสามารถเปลี่ยนตัวเข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนตัวกลับเข้าในสนามใหม่ได้ โดยผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อทีมที่ติดหมายเลข 1-20 ไว้ที่เสื้อ โดยมีขนาดตัวเลข สูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร กว้างอย่างน้อย 10 เซนติเมตร สีของตัวเลขตัดกับเสื้ออย่างชัดเจน สวมใส่รองเท้ากีฬา และห้ามใส่เครื่องประดับทุกชนิด
        











วิธีการเล่น

ใช้มือจับ ขว้าง โยน ลูกบอล ส่งต่อกันกับผู้เล่นในทีมตนเองเพื่อขว้างบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม                                         
             -ห้ามใช้ร่างกายส่วนที่ต่ำกว่าหัวเข่าลงไปโดนลูกบอล
             - ผู้เล่นสามารถถือลูกบอลไว้ในมือได้ไม่เกิน วินาที
             - ขณะถือลูกบอลสามารถก้าวขาได้ไม่เกิน ก้า
             - ห้ามผู้เล่นดึงลูกบอลจากมือของฝ่ายตรงข้าม
             - ห้ามเข้าไปในเขตประตูของฝ่ายตรงข้ามใช้เวลาในการแข่งขัน            
ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที หากมีการต่อเวลาพิเศษจะเพิ่ม ครึ่ง ครึ่งละ นาที






        
  การคิดคะแนน

          หากสามารถขว้างบอลเข้าประตูฝั่งตรงข้ามได้จะคิดเป็น คะแนนต่อ ครั้ง หากมีการทำเข้าประตูตนเองก็จะเสียคะแนนให้กับฝ่ายตรงข้าม เมื่อหมดเวลาใครทำประตูได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ













เเบบฝึกของการเล่นกีฬาเเฮนด์บอล

ขั้นเเรกของการฝึกจะต้องมีการเตรียมร่างกายของผู้ที่จะทำการฝึกโดยการออกกำลังกายหรือการฝึกอวัยวะในส่วนต่างๆเสียก่อน
 (เรียกว่าการอบอุ่นร่างกายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการวอร์มอัพนั้นเอง)

      

ทักษะในการเล่นที่สำคัญได้เเก่
      การทรงตัว : ท่าการทรงเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติของเท้าเเละส่วนอื่นๆ เเนวทางในการฝึกหัดมีดังนี้
ท่าของการทรงตัว
 1. ยืนเเล้วก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย งอเข่า ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า
 2. เหยียดเเขนไปข้างหน้า งอศอกตามธรรมชาติ เเบมือเเละกางนิ้วออก โดยไม่ต้องเกร็ง
 3. เท้าทั้งสองยืนห่างกันประมาณช่วงไหล่ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา
การทรงตัวขณะเคลื่อนที่
 1. เลื่อนเท้าไปข้างหน้า เเล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งตามมาชิดในท่าของการยืนทรงตัวเมื่อต้องการเคลื่อนที่
  2. ถ้าต้องการเคลื่อนที่ไปข้างๆให้ใช้เท้าที่ถนัดสืบเท้านำไปข้างๆแลวลากเท้าที่เหลือมาชิด
การทรงตัวเมื่อต้องการหยุด
   1. การหยุดเเบบเท้าอยู่ข้างหน้าโดยการใช้เท้าใดเท้าหนึ่งก้าวนำ งอเข่า ลำตัวเอนมาด้านหลังเล็กน้อย
   2. ย่อตัวต่ำลง ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่เป้าหมาย กางแขนเท้าหลังยึดเเน่นกับพื้น
   3. การหยุดเเบบเท้าคู่ (นิยมใช้ในทีมรับ) กระโดดเเล้วลงสองเท้าพร้อมกัน ให้เท้าห่างกันพอสมควร

การครอบครองลูก : การถือบอลสามารถจับหรือถือได้ทั้งมือเดียวหรือสองมือ สามารถเปลี่ยนมือไปมา    ได้ เเต่ต้องไม่เกิน 3 วินาที เเละสามารถถือลูกบอลพร้อมทั้งก้าวได้ 3 ก้าว
การรับส่งลูก : เเบมือทั้งสองออกทุกนิ้วกางนิ้วเเยกออกจากกันให้หงายฝ่ามือขึ้นเมื่อต้องการรับลูกที่มาต่ำ อีกกรณีทำได้โดยการคว่ำฝ่ามือหันหลังมือเข้าหาลำตัว นิ้วมือทั้งสองเกือบจรดกัน นิ้วห่างกันเล็กน้อย (คล้ายรูปชาม) เมื่อบอลกระทบมือใช้นิ้วต่างๆรวมจับลูกอย่าให้ลูกกระทบอุ้งมือพร้อมทั้งดึงลูกเข้าหาลำตัว
1. ขณะรับส่งลูกสายตาจ้องมาลูกบอลเสมอ ไม่ควรมองดูตัวผู้เล่น
2. ตำเเหน่งการทรงตัวจะต้องมั่นคง พร้อมที่จะส่งบอลในทุกทิศทาง
3. อย่ายืนรอรับบอลเฉยๆ ควรวิ่งเข้าหาบอล ถ้าบอลมาสูงก็กระโดดรับ ถ้ามาต่ำก็ก้มรับ เมื่อได้บอลเเล้วรีบดึงบอลเข้าหาลำตัว

การฝึกรับส่งบอลอาจทำการฝึกในหลายๆรูปเเบบ เพื่อเพิ่มทักษะการรับเเละการส่ง ได้เเก่
1. การรับบอลในอากาศด้านหน้า
2. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัวทางเเขนด้านที่ถนัด
3. การรับลูกที่ส่งมไม่ตรงตัวทางเเขนด้านที่ไม่ถนัด
4. การรับลูกที่กลิ้งมาตามพื้น

การส่งลูก : เป้าหมายในการส่งคือระดับอกของผู้รับ ความเร็วต้องมีการกะระยะทางระหว่างผู้ส่งเเละผู้รับเพื่อที่จะได้ส่งลูกออกไปตามเเรงที่เหมาะสม การส่งลูกถ้าผู้ส่งถนัดขวาก็ต้องให้เท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวาในขณะส่ง โน้มตัวไปข้างหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าเพื่อเสริมเเรงทำให้ลูกวิ่งได้เร็วเเละเเรงขึ้น การส่งลูกบอลอาจทำได้ในหลายๆรูปเเบบ เพื่อหลอกล่อคู่ต่อสู้ เเละการส่งอาจทำได้ทั้งการยืนส่งลูก หรือการกระโดดส่งลูก ดังนี้

การยืนส่งลูกมือเดียว ซึ่งได้เเก่ ส่งลูกมือเดียวเหนือหัวไหล่ การส่งไปด้านหน้าด้วยมือที่ถนัดเเละไม่ถนัดเหนือหัวไหล่ ส่งลูกมือเดียวระดับล่าง ส่งบอลระดับกลางด้านข้าง การพลิกมือส่ง (ลูกบอลต้องอยู่ในระดับข้อมือ เเละบอลอยู่ชิดลำตัว) การส่งลูกมือเดียวอ้อมหลัง ส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ ส่งลูกเเบบผลัก ส่งลูกเเบบตวัด ฯลฯ
การยืนส่งลูกสองมือ ซึ่งได้เเก่ ส่งลูกระดับอก ส่งลูกเหนือศีรษะ ส่งลูกสองมือด้านหน้า ฯลฯ
การกระโดดส่งลูกมือเดียว ซึ่งได้เเก่ กระโดดส่งลูกมือเดียวตรงหน้า กระโดดส่งด้านข้างมือเดียว กระโดดส่งลูกด้วยสองมือ กระโดดส่งลูกกลับด้านหลัง กระโดดสองเท้าส่งลูกสองมือ
ข้อเเนะนำในการรับ – ส่งลูกบอล
1. ไม่ควรเเสดงว่าจะส่งลูกไปทางไหน
2. การส่งลูกอย่าส่งเเรงหรือเร็วเกินไป เป้าหมายการส่งลูกโดยที่ผู้รับเคลื่อนที่ประมาณข้างหน้าของผู้รับระยะ 1 ช่วงเเขน ไม่ส่งย้อยหลัง สูงหรือต่ำเกินไป
3. ไม่ควรส่งกระดอนหรือลูกพลิกเเพลงบ่อย ในขณะที่ไม่มีความชำนาญ
4. อย่าส่งลูกขณะที่ผู้รับยังหันหลังอยู่ เเละไม่ควรส่งลูกข้ามคน (อาจถูกตัดเเย่งเอาลูกบอลไปได้)

การเลี้ยงลูก : ขณะยืนหรือเคลื่อนที่พยายามบังคับลูกบอลให้กระทบพื้น ผู้เล่นจะก้าวกี่ก้าวก็ได้ในขณะที่เลี้ยงลูกบอล สามารถทำได้โดยการปัดลูกบอลไปบนพื้นสนาม ให้ผู้ฝึกกางนิ้วมือที่จะใช้เลี้ยงลูกออกทุกนิ้วเวลาผลักลูกบอลลงสู่พื้นนั้นใช้เฉพาะนิ้วทั้งห้าเท่านั้น ห้ามใช้ฝ่ามือผลักลูกเด็ดขาด ตำแหน่งของร่างกายขณะเลี้ยงลูกบอล ให้ก้มตัวไปข้างหน้าย่อเข่า แขนข้างหนึ่งกางออกเพื่อการทรงตัว เท้าอยู่ในลักษณะมีเท้านำและเท้าตาม ลำตัวเอียงโน้มไปข้างหน้า หรือด้านข้างเพื่อช่วยในการหลบหลีกและทำการป้องกันจากคู่ต่อสู้ เมื่อต้องการหยุดกดลูกให้ต่ำลงหรือจับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือก็ได้
การเลี้ยงลูกบอลมีหลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับโอกาสและความชำนาญของผู้ฝึก ในที่นี้จะขอกล่าวแต่ถึงรูปแบบการเลี้ยงที่มีการใช้บ่อย ได้แก่
การเลี้ยงลูกต่ำ – จุดมุ่งหมายเพื่อหลบหลีกคู่ต่อสู้
การเลี้ยงลูกสูง - จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกบอลไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

การหมุนตัว : การหมุนตัวเป็นทักษะที่ต้องการการฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆได้ดังนี้
1. การหมุนตัวอยู่กับที่: หมุนตัวโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นหลัก หมุนไปตามทิศที่ต้องการ โดยที่เท้าที่ใช้เป็นหลักจะต้องยึดมั่นอยู่กับที่ เขย่งส้นเท้าขั้นให้ปลายเท้าติดอยู่กับพื้น ขณะที่หมุนตัวต้องก้มลำตัวและงอเข่าให้มากที่สุด ใช้สายตากะระยะคู่ต่อสู้ ในการครองลูก ให้ถือลูกให้มั่นด้วยมือทั้งสองข้าง ลูกบอลแนบชิดกับหน้าท้อง กางข้อศอกเพื่อป้องกันคู่ต่อสู้แย่งลูกบอล
2. การหลอกหมุนตัวกลับ: เป็นพื้นฐานนำไปสู่การยิงประตู จุดมุ่งหมายหลักคือ การหลอกล่อ หนีฝ่ายป้องกัน สามารถทำได้โดยวิ่งตัดผ่านพื้นที่เหนือเส้นเขตประตูเพื่อรับลูกบอลโดยไม่ให้ฝ่ายป้องกันรู้ตัว ในการหยุดเท้าต้องขนานกัน ช่วงเท้าทั้งสองห่างกว่าปกติเล็กน้อยย่อเข่าให้สะโพกต่ำ เวลาเหมุนตัวกลับต้องทำให้เร็วน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหลักในการหมุน (อาจทำได้ทั้ง ซ้าย – ขวา)

การยิงประตู : การเข้าทำประตูฝ่ายตรงข้ามมีวิธีการและทักษะแตกต่างกัน ทั้งนี้การเลือกนำไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และการตัดสินใจของผู้เล่น จึงแยกออกได้ดังนี้คือ
1. ยืนยิงประตู
การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวเหนือไหล่
การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวระดับไหล่
การยืนยิงประตูอยู่กับที่แบบเหวี่ยง
การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวระดับต่ำ
การยืนยิงประตูด้วยสองมือ
การยืนยิงประตูแบบกลับหลัง
2. การกระโดดยิงประตู
การกระโดดยิงประตูแนวดิ่งด้วยเท้าคู่
การกระโดดยิงประตูแนวดิ่งด้วยเท้าเดียว
การวิ่งกระโดดยิงประตู
การพุ่งตัวตรงหน้ายิงประตู
การล้มตัวยิงประตูทางด้านหน้า
การพลิกตัวยิงประตู
การหมุนตัวประตูแบบขว้างจักร

ข้อแนะนำในการยิงประตู
1. ผู้ยิงประตูที่ดี ต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอและควรมีทักษะในการยิงประตูมากกว่า 1 ท่าขึ้นไป
2. ต้องมีการหลอกล่อ และคอยหาโอกาส
3. ต้องยิงประได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
4. ไม่ควรยิงในทิศทางเดียวกันเสมออาจทำให้ถูกจับทิศทาง
5. ระดับของการยิงประตูให้พิจารณาดังนี้
5.1) รูปร่าง ส่วนสูง ของผู้รักษาประตู
ก. คนเตี้ยให้ยิงระดับสูง
ข. คนสูงให้ยิงระดับต่ำ
ค. หากรูปร่างเก้งก้างลำตัวยาวให้ยิงประตูระดับกลางของประตู
5.2) ตำแหน่งการยิงของผู้รักษาประตู
ก. ให้ยิงประตูไปยังด้านที่เปิด (มุมไกล) ด้านกว้าง
ข. ศึกษาจุดอ่อนของผู้รักษาประตูว่าถนัดและไม่ถนัด
5.3) ทักษะบางอย่างของผู้รักษาประตู
ก. ถ้าผู้รักษาประตูชอบพุ่งตัวรับ ให้ยิงลูกต่ำ
ข. ถ้าผู้รักษาประตูใช้เท้าได้ดี แต่ใช้มือไม่ดี การยิงให้ยิงลูกกระดอนพื้น

การฝึกในแบบทีม
   ในการเล่นประเภททีมจะต้องทำการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ผู้เล่นฝ่ายรุก (ฝ่ายที่ได้ครอบครองลูก) และผู้เล่นฝ่ายรับ
ผุ้เล่นฝ่ายรุกประกอบด้วย
1. ตำแหน่งหลัง (Backs) ในการเล่นแฮนด์บอลถือว่าผู้เล่นกองหลังเป็นหัวใจและมันสมองของทีม ผู้เล่นในตำแหน่งนี้จะต้องมีรูปร่างแข็งแรง มีประสบการณ์และความชำนาญที่ดี สามารถสั่งการและบัญชาการเกมได้
2. ตำแหน่งปีก (Wingers) จะต้องมีความเร็วคล่องตัวมีสมรรถภาพทางกายดี สามารถยิงประตูได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะการยิงประตูทางมุมแคบจากทางด้านข้าง
3. ตำแหน่งหน้า (Forward or line players) ต้องมีการสร้างสรรค์เกมรุกด้านหน้า ต้องมีรูปร่างแข็งแรงบึกบึนและมีความคล่องตัวสูง
การป้องกันในการเล่นแฮนด์บอลมีจุดมุ่งหมายคือป้องกันการทำประ๕จากฝ่ายที่ได้ครอบครองลูก ทักษะป้องกันพื้นฐานที่สำคัญมี 3 ประการ คือ
1. การป้องกันแบบตัวต่อตัว
2. การป้องกันแบบทีม
3. การป้องกันตามสถานการณ์ต่างๆ


เทคนิคการเข้าทำประตูในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล



เทคนิคการฝึกซ้อมของประตูแฮนด์บอล



บรรยากาศการฝึกซ้อม